ไฟไดหมึกทำไมต้องเป็นสีเขียว ?
ดาร์เรล คีธ ผู้ก่อตั้ง บริษัทไฮโดรโกลว์ ที่ดำเนินธุรกิจด้านไฟสำหรับช่วยในการปลา ตั้งอยู่เมืองดอว์สัน รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ได้ค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับไฟเหมาะสำหรับใช้ดึงดูดปลา และสรุปว่า ความยาวคลื่นของแสงสีขาว และแสงสีเขียว (495-570 nm) มีความโดดเด่นอย่างมีนัยสำคัญ ในการดึงดูดแพลงก์ตอน แพลงก์ตอน นั้นอย่างที่ทราบกันเป็นลำดับล่างสุดของห่วงโซ่ เป็นอาหารหลักของปลาขนาดเล็ก ดังนั้น เมื่อแพลงก์ตอนมารวมกันจำนวนมากๆ บรรดาปลาเล็กปลาน้อยทั้งหลายก็ตามเข้ามากินอาหาร และปลานักล่าทั้งหลายก็ตามมากินปลาเล็กนั้นอีกที แต่ก็มีปลานักล่าบางชนิดเหมือนกันที่ แสงไฟดึงดูดปลาโดยตรงเหมือนแพลงก์ตอน แม้ในกรณีนี้ ไฟแสงสีเขียวก็ได้ผลดีกว่าแสงสีอื่นอีกเช่นกันส่วนไฟแสงสีฟ้าถึงสีน้ำเงิน (425-490 nm) นั้น ให้ผลดีเหมือนกับ ไฟสีเขียว ในด้านความสามารถในการลงไปในน้ำได้ลึกและให้ผลดีในการดึงดูดปลาเล็กปลาน้อยในน้ำทะเล เหมือนไฟแสงสีเขียว แต่ทว่าแสงสีน้ำเงินให้ผลไม่ดีนักสำหรับการจับปลาในน้ำจืด ไฟแสงสีขาว ให้ผลในการดึงดูดแพลงก์ตอนดีเช่นกัน แต่ไฟแสงสีขาว สว่างลงไปในน้ำได้น้อย หรืออีกความหมายหนึ่งคือถูกดูดกลืนในน้ำได้มากกว่าไฟแสงสีเขียว หรือสีฟ้า จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการดึงดูดแพลงก์ตอนได้น้อยกว่าปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่ ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารลำดับสูงขึ้นมา มีการปรับตัวให้มองเห็นสีเขียวหรือสีฟ้าของน้ำทะเลเป็นเสมือนฉากหลัง หรือแบกกราวด์ในการมองเห็นและเพื่อทำให้มองเห็นอาหารได้ง่ายขึ้นนั่นเอง และในเหล่าบรรดาอาหารทั้งหลายโดยเฉพาะสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกแพลงก์ตอน ส่วนใหญ่จะมีสีออกไปทางสีแดง จึงทำให้ปลา มองเห็นและหาเป็นอาหารได้ง่ายขึ้นเมื่อมีฉากหลังสีเขียวหรือฟ้า